วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

ข้อสอบเคมีเรื่องอิเล็กโทรไลต์

เรื่องอิเล็กโทรไลต์
1.ข้อใดต่อไปนี้ อธิบายเกี่ยวกับแบตเตอรี่ได้ถูกต้อง
1.ขณะจ่ายไฟ ค่าศักย์ไฟฟ้าของแต่ละเซลล์ในแบตเตอรี่มีค่าคงที่
2.ขณะจ่ายไฟ สารที่เข้าทำปฏิกิริยาเป็นสารชนิดเดียวกัน
3.ตัวรีดิวส์มีการเปลี่ยนแปลงค่าเลขออกซิเดชันเท่ากับ4
4.ระดับความเข้มข้นของกรดมีผลต่อศักย์ไฟฟ้าของเซลล์
เฉลยข้อ4
2.จากข้อสรุปในการชุบโลหะด้วยไฟฟ้าต่อไปนี้
ก.สารละลายอิเล็กไลต์ต้องมีไอออนของโลหะที่ใช้เคลือบปนกับสารประกอบไซยาไนต์
ข.สิ่งที่ต้องการชุบควรต่อที่ขั้วแอโนด
ค.ต้องการชุบชิ้นงานด้วยโลหะใด ต้องต่อโลหะนั้นที่ขั้วแคโทด
ง.การทดลองสามารถต่อกระแสไฟฟ้าตรงหรือกระแสไฟฟ้าตามบ้านได้
จ.โลหะที่เป็นแอโนดต้องบริสุทธิ์ และไม่ควรชุบนานเกินไป
ข้อสรุปใดผิด
1.ก ข และ ค 2.ค ง และ จ 3.ก ง และ จ 4.ข ค และ ง
เฉลยข้อ4
3.การป้องกันการผุกร่อนของตะปูเหล็กวิธีใดไม่ถูกต้อง
1.นำตะปูต่อเข้ากับขั้วบวกของถ่านไฟฉาย
2.นำตะปูไปทำอะโนไดซ์
3.นำตะปูไปทำแคโทดิก
4.นำตะปูไปทำรมดำ
เฉลยข้อ1
4.ข้อใดเกิดการผุกร่อนของตะปูเหล็กน้อยที่สุด
1.ตะปูที่วางไว้ในอากาศ
2.ตะปูที่ต่อกับขั้วลบของถ่านไฟฉาย
3.ตะปูที่ต่อกับขั้วดีบุก
4.ตะปูที่นำไปผ่านการอะโนไดซ์
เฉลยข้อ2
5.เหตุผลข้อใดถูกต้องที่สุดในการอธิบายถึงการฝังแมกนีเซียมไว้ให้สัมผัสกับท่อเหล็กใต้พื้นดินเพื่อป้องกันไม่ให้ท่อเหล็กผุกร่อน
1.แมกนีเซียมเป็นตัวส่งผ่านอิเล็กตรอนไปยังท่อเหล็ก
2.แมกนีเซียมเป็นตัวรับอิเล็กตรอนจากท่อเหล็ก
3.แมกนีเซียมเป็นตัวป้องกันมิให้ท่อเหล็กสัมผัสกับความชื้นโดยตรง
4.ข้อ 2 และ 3
เฉลยข้อ1
6.ทองแดงที่ได้จากสินแร่ เมื่อทำให้บริสุทธิ์โดยใช้หลักการของเซลล์อิเล็กโทรลิซิส ข้อความใดต่อไปนี้ข้อความใดผิด
1.ใช้ทองแดงถลุงเป็นแอโนด และทองบริสุทธิ์เป็นแคโทด
2.สารเจือปนในทองแดงถลุงควรมีความสามารถเป็นตัวรีดิวซ์หรือตัวออกซิไดส์แตกต่างจากทองแดงมากพอสมควร
3.สารเจือปนในทองแดงถลุงที่ถูกออกซิไดส์ได้ยากกว่าทองแดงจะตกตะกอนอยู่กับภาชนะเซลล์
4.สารละลายในเซลล์เป็นอิเล็กโทรไลต์อะไรก็ได้เช่นCuSO4, ZnSO4 หรือ H2 SO4
เฉลยข้อ4
7.การกระทำในข้อใดไม่ถูกต้องเมื่อต้องการชุบแท่งเหล็กด้วยโครเมียม
1.ใช้โลหะโครเมียมเป็นแอโนดหรือเป็นขั้วบวก
2.ใช้แท่งเหล็กเป็นแคโทดหรือเป็นขั้วบวก
3.สารละลายอิเล็กโทรไลต์ต้องมีไอออนของโครเมียม
4.ใช้โลหะโครเมียมเป็นแคโทดหรือขั้วบวก
เฉลยข้อ4
8.ข้อความที่เกี่ยวกับเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน-ออกซิเจน ต่อไปนี้ข้อใดผิด
1.พลังงานเคมีของเซลล์เชื้อเพลิงถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า
2.ต้องบรรจุเชื้อเพลิงเข้าไปในเซลล์ต่อเนื่องตลอดเวลา
3.ที่แอโนดเป็นปฏิกิริยาออกซิเดชันของไฮโดรเจน โดยมีไฮดรอกไซด์ไอออนเข้าร่วมในปฏิกิริยา
4.น้ำซึ่งเป็นผลผลิตของปฏิกิริยาจะแยกสลายเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งใช้น้ำกลับมาเป็นเชื้อเพลิงได้อีก
เฉลยข้อ2
9.ในการอิเล็กโทรไลต์สารละลาย Na2 SO4โดยใช้อิเล็กโทดเฉลี่ยข้อความใดที่ไม่ถูกต้อง
1.Na ถูกรีดิวซ์เป็น Na ที่แคโทด
2.น้ำถูกรีดิวซ์เป็นแก๊ส H2 ที่แคโทด
3.น้ำถูกออกซิไดส์เป็นO2 และ H ที่แอโนด
4.สารละลาย Na2 SO4 เข้มข้นขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
เฉลยข้อ1
10.เมื่อใช้กระแสไฟฟ้า1.0 แอมแปร์ ผ่าสารละลายCu SO4 เป็นเวลา 20นาทีจะมี Cuแยกออกมากี่กรัม
1. 0.0066 g 2. 0.0011 g 3. 4.2176 g 4. 0.3960 g
เฉลยข้อ4

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ข้อสอบเคมีเรื่องธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม

ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม
1.สมบัติข้อใดของธาตุแทรนซิชัน นำมาใช้ประโยชน์ในกรณีต่อไปนี้
ก.ทังสเตนที่ใช้ในการทำลวดไฟฟ้า (ในหลอดไฟฟ้า)
ข.โครเมียมใช้เคลือบผิวเหล็ก
ค.สังกะสีใช้เคลือบผิวเหล็ก
ง.ไทเทเนียมใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องบิน
จ.ทองแดงใช้ทำลวดนำไฟฟ้า
1.ก ข ค 2.ก ข ค จ 3.ก ค จ 4.ก ข ค ง จ
เฉลยข้อ4
2.กระบวนการโซลเวย์เป็นกระบวนการผลิต
1.โซเดียมไบคาร์บอเนต โดยกรรมวิธีแอมโมเนีย-โซดา
2.โซเดียมคาร์บอเนต โดยกรรมวิธีแอมโมเนีย-โซดา
3.โซเดียมไฮดรอกไซด์ โดยกระบวนการไฮโดลิซิส
4.โซเดียมไฮโปคลอไรต์ โดยกรรมวิธีแอมโมเนีย-โซดา
เฉลยข้อ1
3.ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยโพแทส และปุ๋ยฟอสเฟต
1.ต่างเป็นปุ๋ยผลิตจากแอมโมเนีย
2.ต่างเป็นปุ๋ยได้จากโพแทส
3.ต่างเป็นปุ๋ยได้จากฟอสเฟต
4.ปุ๋ยไนโตรเจนผลิตจากแอมโมเนีย ปุ๋ยโพแทสผลิตจากโพแทส และปุ๋ยฟอสเฟตผลิตจากหินฟอสเฟต
เฉลยข้อ4

4.น้ำที่มีมลพิษทางน้ำสูง ต้องมีค่า
1.CODสูง BODสูง
2.CODต่ำ BODสูง
3.CODต่ำ BODต่ำ
4. CODสูง BODต่ำ
เฉลยข้อ1
5.น้ำทิ้งจากโรงงานต่อไปนี้ ข้อใดจะทำให้เกิดมลภาวะของน้ำมากที่สุด
1.โรงงานสุรา
2.โรงงานน้ำตาล
3.โรงงานผลิตโซดาไฟ
4.โรงงานผลิตสารซักฟอก
เฉลยข้อ3
6.แหล่งน้ำต่อไปนี้ แหล่งใดจะช่วยให้พืชสีเขียวในน้ำเจริญเติบโตดีที่สุด
1.น้ำประปา 2.น้ำบาดาล
3.น้ำทิ้งจากบ้านเรือน 4.น้ำฝน
เฉลยข้อ3
7.ปุ๋ยทำให้ดินเปี้ยวได้คือสารใด
1.โพแทสเซียมฟอสเฟต 2.แอมโมเนียคลอไรด์
3.โพแทสเซียมไนเตรต 4.แคลเซียมฟอสเฟต
เฉลยข้อ2
7.กระบวนการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์ โดยใช้ประหลอดที่แอโนดเกิดสารใดขึ้น
1.แก๊สคลอรีน 2.แก๊สไฮโดเจน
3.โซเดียมอะมัลกัม 4.แก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์
เฉลยข้อ1
8.ถ้ามีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สแอมโมเนีย และสารละลายเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ จะสามารถนำไปผลิตสารใดได้
1.มอโนโซเดียมกลูตาเมต 2.โซดาแอช
3.โซเดียมไฮโปคลอไรต์ 4.โอเลียม
เฉลยข้อ2
9.โรคพิษแมงกานีสอาจพบในคนงานในโรงงานประเภทใด
1.โรงงานกระดาษ 2.โรงงานผลิตแบตเตอรี
3.โรงงานถ่านไฟฉาย 4.โรงงานทอผ้า
เฉลยข้อ3
10.น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดผลในข้อต่อไปนี้ ขึ้นใดไม่เอื้อต่อการยังชีพของสิ่งมีชีวิตในน้ำมากที่สุด
1.มีแบคทีเรียมาก
2.มีอุณหภูมิสูง
3.มีออกซิเจนสูง
4.มีโลหะหนัก
เฉลยข้อ2
ที่มา จากหนังสือโจทย์เคมี ม.4-5-6

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Part2

Part2

1. อธิบายว่าอะไรเป็นสาเหตุให้เกิดฟ้าผ่า หลักการของประจุชนิดต่างกันทำให้เกิดฟ้าผ่าได้หรือไม่ อย่างไร

ตอบ ฟ้าผ่าเกิดจากการที่ก้อนเมฆลอยตัวไปแล้วเสียดสีกับบรรยากาศหรือเสียดสีระว่างก้อนเมฆด้วยกันทำให้เกิดการสะสมไฟฟ้าสถิตในตัวก้อนเมฆมากทำให้ก้อนเมฆมีศักดิ์ไฟฟ้าสูงตั้งแต่ 10-100 MV เมื่อสะสมไว้มากก็เกิดความเครียดของสนามไฟฟ้าเมื่อความเครียดของสนามไฟฟ้าถึงขั้นวิกฤตก็ต้องปลดปล่อยโดยการดิสชาร์จระหว่างก้อนเมฆกับพื้นโลกเลยเกิดเป็นฟ้าผ่า(Ground Flash)

2. อธิบายว่าแสงที่เกิดขึ้นขณะฟ้าผ่า ว่าเดินทางจากเมฆลงมายังพื้นดิน หรือจากพื้นดินขึ้นไปบนท้องฟ้า

ตอบ เกิดจากถ่ายเทประจุไฟฟ้าระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดินเป็น ถ้ามีสิ่งกีดขวางไม่ยอมให้ประจุผ่านไปได้สะดวก เช่น ต้นไม้ บ้าน รถยนต์ คน สัตว์ต่างๆ ก็จะเกิดความร้อนและลุกไหม้เป็นอันตรายอย่างมาก หรือที่เราเรียกกันว่า ฟ้าผ่า ดังนั้นจึงสังเกตได้ว่าตามอาคารสูงๆ จึงมักติดสายล่อฟ้า ทำด้วยเหล็กกล้ารูปสามง่ามไว้บนยอดสุดของอาคาร เชื่อมต่อกับสายทองแดงลงมาที่พื้นดินเพื่อถ่ายเทประจุไฟฟ้านำลงสู่พื้น

3. วาด diagram แสดงอิเล็กตรอนบนก้อนเมฆ และที่พื้นดิน

4. ในระหว่างที่เกิดฟ้าผ่า นักเรียนควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ บอกมา 3 ประการ

ตอบ 1. ปิดโทรทัศน์ >> ถ้าฟ้าผ่าเปรี้ยงๆ ควรที่จะรีบปิดโทรทัศน์ทันทีนะจ๊ะ เพราะเสาอากาศเป็นตัวนำไฟฟ้าอย่างหนึ่ง ถ้าเสาอากาศถูกฟ้าผ่า กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้ามาในโทรทัศน์ทำให้ระเบิดได้ ดังนั้นวิธีป้องกันสำหรับเรื่องนี้คือ ควรที่จะต่อสายดินไว้ข้างเสาอากาศเพื่อช่วยลดความเสี่ยงลงได้บ้าง แต่ทางที่ดีที่สุดควรที่จะปิดโทรทัศน์ดีกว่าจ้ะ เพื่อความปลอดภัยของตัวน้องๆ เองและทรัพย์สิน
2. ไม่อยู่ใกล้ของสูง >> ไม่ควรที่จะยืนอยู่ใกล้ต้นไม้ หรือเสาไฟฟ้า เพราะฟ้าผ่าชอบที่จะผ่าลงมายังของที่อยู่สูงๆ เช่นนี้
3. มือถือ >> ถ้าฝนตกลงมาล่ะก็ ไม่ควรที่จะใช้โทรศัพท์มือถือนะจ๊ะ เพราะว่าแผ่นโลหะ แบตเตอรี่ที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือ เป็นตัวล่อสายฟ้าได้นะจ๊ะ ดังนั้นถ้าฝนตกน้องๆ จึงควรที่จะเก็บเจ้าเครื่องมือสื่อสารเครื่องนี้ไว้ในซองหนังหรือซองผ้าที่มิดชิดทันที

5. เพราะเหตุใดนักเรียนจึงไม่ควรอยู่ในน้ำในขณะที่เกิดฟ้าผ่า

ตอบ สภาวะที่อำนวยให้เกิดฟ้าผ่านี้ จึงมีไม่เท่ากันทุกแห่งบนโลก โดยมากจะเกิดเหนือพื้นทวีปเพราะความแตกต่างของกระแสอากาศมีสูง คืออากาศเหนือพื้นดินสามารถร้อนขึ้นได้มากจากการที่พื้นโลกดูดซับพลังงานของดวงอาทิตย์ แล้วคายออกมาสู่อากาศเหนือพื้นโดยตรง จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ก่อให้เกิดพายุฝน อันเป็นแหล่งกำเนิดของฟ้าผ่า และบนพื้นโลก ก็ยังมีสิ่งก่อสร้างสูงๆ ทั้งโดยธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น มากกว่าที่จะหาได้ในท้องทะเลอันราบเรียบ อัตราการเกิดฟ้าผ่าจึงมีสูงมากในภาคพื้นทวีป ส่วนเหนือพื้นน้ำนั้น เนื่องจากน้ำอมความร้อนได้ดีมากจนคายออกมาน้อยมาก อากาศเหนือพื้นจึงไม่ได้ร้อนมาก เมื่อไม่มีกระแสอากาศร้อนติดพื้น ก็ไม่ค่อยมีการก่อเมฆฝน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดฟ้าผ่า ประชากรในประเทศเกาะในมหาสมุทร มักจะไม่เจอปรากฏการณ์ฟ้าผ่ามากเท่าใด ภาษาพูดของประชากรเหล่านี้ จึงมีศัพท์เกี่ยวกับฟ้าผ่ากันไม่มากนัก

6. ให้นักเรียนยกตัวอย่างผลของไฟฟ้าสถิตที่มีในชีวิตประจำวันมาสัก 5 ตัวอย่าง

ตอบ ในชีวิตประจำวันของเรา เราพบปรากฏการณ์ทางไฟฟ้าสถิตอยู่เสมอ เช่น ถ้าเราใช้ปกพลาสติกที่หุ้มหนังสือถูกับโต๊ะไปมาหลายๆ ครั้งแล้วนำมือเข้ามาใกล้ๆ ปกพลาสติกนี้ จะรู้สึกว่าขนเล็ก ๆ ที่มือลุกชันขึ้นได้ ซึ่งปรากฏการณ์อย่างเดียวกันนี้จะเกิดได้เมื่อเรานำมือเข้าไปใกล้จอโทรทัศน์ที่เพิ่งปิดใหม่ ๆ ในฤดูหนาวเราจะสังเกตได้ว่าเมื่อเราหวีผม เส้นผมมักจะชูตามหวีมาด้วยเสมอ คล้าย ๆ กับว่าหวีพลาสติกดูดเส้นผมออกมา ความจริงปรากฏการณ์ดังกล่าวข้างต้นมนุษย์พบมานานแล้วเท่าที่มีการบันทึกไว้เริ่มมาตั้งแต่ 600 ปีก่อนคริสตศักราชหรือราว ๆ สมัยพุทธกาลนั่นเอง

7. อธิบายว่าอิเล็กโทรสโคปสามารถใช้ตรวจสอบไฟฟ้าสถิตได้อย่างไร

ตอบ เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบประจุไฟฟ้าจำนวนน้อยๆ


8. เพราะเหตุใดจึงไม่ใช้โลหะเป็นตัวทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต


ตอบ ไฟฟ้าสถิตมันเกิดกับวัตถุที่เป็นฉนวนเท่านั้นถ้าเราทำให้อิเล็กตรอนในโลหะหรือตัวนำ หลุดออกไปได้ ... มันก็จะวิ่งไปรวมตัวเพื่อเป็นกลาง จึงไม่สามารถ "สถิต" อยู่บนตัวนำนั้นได้


9. ยกตัวอย่างประโยชน์ของไฟฟ้าสถิตมาสัก 5 ตัวอย่าง


ตอบ 1.การดูดน้ำใต้ดิน2. เครื่องพิมพ์เลเซอร์3. ทางด้านการแพทย์เพื่อประดิษฐ์เส้นใยนาโน4. การทำกระดาษทราย5. การกรองฝุ่นและเขม่าออกจากควันไฟ


10.อธิบายว่าสามารถใช้หลักการเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าสถิตในการควบคุมมลพิษทางอากาศได้อย่างไร


ตอบ การควบคุมมลพิษทางอากาศ(Air Pollution Control) การเก็บฝุ่นโดยอาศัยหลักการกรอง (Filter) ด้วยเครื่องจับอนุภาคด้วยไฟฟ้าสถิต

Part1

Part1
ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลใน website ต่าง ๆ เกี่ยวกับ "ฟ้าผ่า" แล้วตอบคำถามต่อไปนี้

1. อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต

** การที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุมีไม่เท่ากันทำให้เกิดแรงดึงดูดเมื่อวัตถุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุต่างชนิดกัน หรือเกิดแรงผลักกันเมื่อวัสดุทั้ง


2 ชิ้นมีประจุชนิดเดียวกัน2. ฟ้าผ่าเกิดจากอะไร

** ฟ้าผ่าเกิดจากการที่ก้อนเมฆลอยตัวไปแล้วเสียดสีกับบรรยากาศหรือเสียดสีระว่างก้อนเมฆด้วยกันทำให้เกิดการสะสมไฟฟ้าสถิตในตัวก้อนเมฆมากทำให้ก้อนเมฆมีศักดิ์ไฟฟ้าสูงตั้งแต่ 10-100 MV เมื่อสะสมไว้มากก็เกิดความเครียดของสนามไฟฟ้าเมื่อความเครียดของสนามไฟฟ้าถึงขั้นวิกฤตก็ต้องปลดปล่อยโดยการดิสชาร์จระหว่างก้อนเมฆกับพื้นโลกเลยเกิดเป็นฟ้าผ่า(Ground Flash)


3. การเกิดฟ้าผ่าเกี่ยวข้องกับไฟฟ้าสถิตหรือไม่ อย่างไร

** การเกิดไฟฟ้าสถิต เมื่อมีวัสดุทั้งสองชนิดเป็นฉนวนที่มีการสัมผัสกันจะมีประจุบางส่วน (Electrons) ถูกถ่ายโอนจากวัสดุฉนวนชิ้นหนึ่งไปสู่วัสดุฉนวนอีกชิ้นหนึ่ง และเมื่อฉนวนทั้งสองชิ้นถูกแยกออกจากกัน ประจุดังกล่าวก็จะไม่สามารถย้อนกลับไปยังวัสดุฉนวนชิ้นเดิมได้ จึงทำให้ประจุดังกล่าวก็จะไม่สามารถเคลื่อนที่ในวัสดุฉนวนได้ ซึ่งถ้าวัสดุทั้งสองเป็นกลางแล้วก็จะเกิดประจุบวกขึ้นในวัสดุฉนวนชิ้นหนึ่งและเกิดประจุลบกับวัสดุอีกชิ้นหนึ่ง ส่วนการเกิดฟ้าผ่า เกิดจากถ่ายเทประจุไฟฟ้าระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดินเป็น ถ้ามีสิ่งกีดขวางไม่ยอมให้ประจุผ่านไปได้สะดวก เช่น ต้นไม้ บ้าน รถยนต์ คน สัตว์ต่างๆ ก็จะเกิดความร้อนและลุกไหม้เป็นอันตรายอย่างมาก หรือที่เราเรียกกันว่า ฟ้าผ่า ดังนั้นจึงสังเกตได้ว่าตามอาคารสูงๆ จึงมักติดสายล่อฟ้า ทำด้วยเหล็กกล้ารูปสามง่ามไว้บนยอดสุดของอาคาร เชื่อมต่อกับสายทองแดงลงมาที่พื้นดินเพื่อถ่ายเทประจุไฟฟ้านำลงสู่พื้นดิน
ไฟฟ้ากระแสตรง หมายถึง กระแสไฟฟ้าที่มีทิศทางไหลไปในทิศทางเดียวเสมอคือไหลจากขั้วบวกไปสู่ขั้วลบ (กระแสสมมุติ) กระแสจะไหลจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าผ่านตัวนำเข้าไปทำงานยังอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วไหลกลับแหล่งกำเนิดโดยไม่มีการไหลกลับขั้วจากลบไปบวก ในงานควบคุมมอเตอร์มักจะนำไฟฟ้ากระแสตรงไปใช้ในวงจรควบคุม

วงจรไฟฟ้ากระแสตรง

วงจรไฟฟ้ากระแสตรงประกอบด้วย วงจรอันดับหรืออนุกรม วงจรขนาน และวงจรผสมวงจรอันดับ หรือ อนุกรม วงจรอันดับ เป็นวงจรที่ต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมหรืออันดับโดยเอาปลายด้านหนึ่งต่อกับอีกปลายด้านหนึ่งไปเรื่อยๆ สรุปผลที่ได้จากการต่อวงจรแบบอันดับ

1. ความต้านทานรวมของวงจรเท่ากับค่าของความต้านทานย่อยทั้งหมดรวมกัน

2. กระแสที่ไหลในวงจรเท่ากันตลอดหรือกระแสที่ไหลผ่านจุด แต่ละจุดในวงจรมีค่าเดียวกัน

3. แรงดันที่ตกคร่อมตัวต้านทานแต่ละตัวรวมกันเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร วงจรขนาน วงจรขนาน เป็นวงจรที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านปลายทางหรือตั้งแต่ 2 ทางขึ้นไปจนครบวงจร สรุปผลที่ได้จากการต่อวงจรแบบขนาน

1. แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมที่มาจากวงจรย่อยเท่ากับแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายนั่นเอง เพราะว่าความต้านทานแต่ละตัวต่างก็ขนานกับแหล่งกำเนิด

2. กระไฟฟ้ารวมในวงจรขนานเท่ากับกระแสไฟฟ้าทั้งหมดรวมกัน

3. ความต้านทานรวมของวงจรขนานจะมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับตัวต้านทานที่มีค่าน้อยที่สุดในวงจร วงจรผสม วงจรผสม หมายถึง การต่อวงจรทั้งแบบอนุกรมและขนานเข้าไปในวงจรเดียวกัน เช่นตัวต้านทานตัวหนึ่งต่ออนุกรมกับตัวต้านทานอีกตัวหนึ่ง แล้วนำตัวต้านทานทั้งสองไปต่อขนานกับตัวต้านทานอีกตัวหนึ่ง